Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

ก.แรงงาน พัฒนางาน KM มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ยกระดับศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านแรงงาน

pll_content_description

      กระทรวงแรงงาน ร่างแผนแม่บทการจัดการความรู้ พ.ศ.2558-2560 มุ่งพัฒนางานการจัดการความรู้(KM)สู่ความเป็นเลิศ พร้อมยกระดับเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านแรงงาน ย้ำบุคลากรที่เป็นมืออาชีพ กระบวนการจัดการความรู้ที่ยอดเยี่ยม และก้าวสู่องค์กรเป็นเลิศด้านการจัดการความรู้ 
 
      นายโกมินทร์ ชาวนาใต้ รักษาการที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการการจัดการความรู้กระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 2/2557ณ ห้องประชุมสำนักบริหารทรัพยากรบุคคล ชั้น 10 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยที่ประชุมได้พิจารณาร่างแผนแม่บทการจัดการความรู้กระทรวงแรงงาน พ.ศ.2558–2560 ที่กระทรวงแรงงานได้นำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงระหว่างบุคลากรกับความรู้ในองค์กร เพื่อสร้างคลังความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการและเปลี่ยนเรียนรู้สนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ทั่วทั้งองค์กร โดยตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่า เพื่อยกระดับกระทรวงแรงงานให้สามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านแรงงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้เส้นทางการเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านแรงงานของกระทรวงแรงงานเป็นแม่แบบในการพัฒนาหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน 

      รักษาการที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเส้นทางการพัฒนาการจัดการความรู้มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านแรงงาน โดยมีวิธีการ 3 กระบวนการ ได้แก่ 1)บุคลากรที่เป็นมืออาชีพ (People Excellence)คือ การพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการความรู้ให้เป็นนักจัดการความรู้มืออาชีพ พัฒนาระบบเครือข่ายการจัดการความรู้ภายในกระทรวงแรงงานให้เข้มแข็ง ปรับปรุงโครงสร้างของการจัดการความรู้ของหระทรวงให้มีประสิทธิภาพ สร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วมกันในวิสัยทัศน์การจัดการความรู้ของกระทรวงแรงงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการจัดการความรู้ของกระทรวง กระบวนการที่สอง คือ 2)กระบวนการจัดการความรู้ที่ยอดเยี่ยม (Process Excellence) เป็นการกำหนดพื้นที่ความรู้ โดยการค้นหาการปฏิบัติที่เป็นเลิศ บทเรียนที่ต้องมีการทบทวน และค้นหาผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จัดการกระบวนการการแบ่งปันความรู้จากพื้นที่ความรู้ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้นั้น ส่งเสริมกิจกรรมการจัดการความรู้ที่นำไปสู่นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง กระบวนการที่สาม คือ 3) องค์กรที่เป็นเลิศด้านการจัดการความรู้ (Organization Excellence) เป็นการบูรณาการองค์ความรู้เข้าสู่ระบบ KM หลักของกระทรวง การยกย่องเชิดชูเกียรติและให้รางวัลแก่ผู้มีผลงานดีเด่นในกิจกรรมการเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมของกระทรวง การขยายเครือข่ายการจัดการความรู้ไปสู่ภายนอกกระทรวง รวมถึงการเผยแพร่การจัดการที่เป็นเลิศให้กับสาธารณะ และพัฒนาต้นแบบการจัดการความรู้เพื่อเป็นแบบอย่างให้หน่วยงานอื่น


————————————-

 
ข่าว:กลุ่มงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ข้อมูล:กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร
TOP